การออกแบบระบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่การสร้างระบบใหม่
กิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) นั้นไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบการสอนขึ้นใหม่
แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบ (model) ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน (step) ต่าง
ๆ ที่เจ้าของรูปแบบนั้นกำหนดไว้อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ได้ออกแบบระบบเอง
ทำไมจึงใช้คำว่า “ ออกแบบการเรียนการสอน” คำตอบที่ชัดเจนก็คือ ผู้ใช้รูปแบบ (model) ของการสอนนั้นจำเป็นต้องออกแบบตามขั้นตอนต่าง ๆ ของรูปแบบนั้น ๆ
ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบ (model) ที่มีผู้สร้างไว้ให้นั้นเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการดำเนินงานเท่านั้น
รายละเอียดต่างๆ ภายในขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพปัญหา
จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน และเงื่อนไขต่าง
ๆ
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)
จากที่กล่าวมาในตอนต้น ๆ ทำให้ทราบความเป็นมาของระบบการสอนรวมถึงคำว่า
“ระบบ” ว่าเป็นอย่างไร
และปรับเปลี่ยนดัดแปลงการออกแบบการเรียนการสอนด้วยเหตุใด
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอน โดยจะเริ่มจากความเป็นมา
ความหมาย ระดับของการออกแบ องค์ประกอบ รูปแบบของการออกแบบการเรียนการสอน
และสุดท้ายคือ กระบวนการขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอน
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน (ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ
แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการ มีขั้นตอน
และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่
จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความหมาย
การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา
การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้
ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ (Richey, 1986)
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน
คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้
และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ
อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง
ปัญหาดังกล่าวคือ
1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)
องค์ประกกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
2. ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
3. ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)
องค์ประกกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
ดังได้กล่าวข้างต้นว่า
การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ
ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้
และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่
กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง
(formative evaluation) เนื่องจากมีรูปแบบ (Model)
สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น
ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม
(generic model) จากรูปแบบดังเดิม (Generic model)
นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
ตามความเชื่อความต้องการของตน
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
รูปแบบต่าง ๆ
ของการออกแบบการเรียนการสอน
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้คิดสร้างขึ้นเพื่อให้เห็นองค์ประกอบ
รายละเอียดโดยสังเขปและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ
เป้าหมายหลักของการจัดระบบการเรียนการสอนมี 2 ประการคือ
1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน
โดยใช้วิธีการต่างๆ
ในการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
2. เพื่อออกแบบระบบการเรียนการสอน
โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน การนำไปใช้
และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของระบบการสอนนั้น
ระบบการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนมาร่วมกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม
ระบบการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนมาร่วมกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น